Accessibility Tools

ศาลอุทธรณ์ภาค 3
The Court of Appeal Region 3

image

ศาลอุทธรณ์ภาค 3

ประวัติความเป็นมา/ข้อมูลทั่วไปของหน่วยงานimage

ประวัติความเป็นมา

          เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ร.ศ. 110 (พ.ศ.2434)  ได้มีการประกาศตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้นและได้ รวมศาลทั้งหมดให้สังกัดกระทรวงยุติธรรม โดยยกศาลฎีกาไปเป็นศาลอุทธรณ์คดีหลวง และให้ศาลอุทธรณ์มหาดไทยเป็นศาลอุทธรณ์คดีราษฎร์ เมื่อมีพระราชบัญญัติจัดการศาลในสนามสถิตย์ยุติธรรม ลงวันที่ 31 มีนาคม ร.ศ.111 ให้ยกเลิกศาลอุทธรณ์คดีหลวง คงเหลือแต่ศาลอุทธรณ์คดีราษฎร์เพียงศาลเดียว เรียกว่าศาลอุทธรณ์ ในปี ร.ศ. 115 ได้มีการตราพระราชบัญญัติตั้งข้าหลวงพิเศษขึ้น และมีการประกาศให้คู่ความอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลหัวเมืองต่อข้าหลวงพิเศษแทนศาลอุทธรณ์ เรียกชื่อว่า ศาลอุทธรณ์ข้าหลวงพิเศษ ทำให้ศาลอุทธรณ์กลับมามี 2 ศาลอีก จนถึงปี พ.ศ.2469 จึงมีประกาศให้รวมศาลทั้งสองศาลเป็นศาลเดียว เรียกว่า ศาลอุทธรณ์กรุงเทพ มีอำนาจพิจารณาคดีอุทธรณ์ทั่วราชอาณาจักร ต่อมาเมื่อตราพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ.2477 ซึ่งกำหนดให้ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา

          ต่อมามีการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลอุทธรณ์ภาค พ.ศ.2532 และพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวนที่ตั้งเขตศาลและวันเปิดทำการของศาลอุทธรณ์ภาค พ.ศ.2532 มีผลบังคับใช้ ศาลอุทธรณ์จึงได้แบ่งเป็น 4 ศาล คือ ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลอุทธรณ์ภาค 2 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ซึ่งได้เปิดทำการเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2533 โดยศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีที่ตั้งอยู่ ณ บริเวณศาลแขวงพระนครใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีเขตอำนาจใน 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ ณ ที่ทำการชั้นที่ 13 อาคารศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร โดยเปิดทำการเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2535 จนกระทั่งในปี พ.ศ.2536 ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวนที่ตั้ง เขตศาล และวันเปิดทำการของ   ศาลอุทธรณ์ภาค (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2536 เปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลอุทธรณ์ภาค 2 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 11 ตอนที่ 101  ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2536 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2536 เป็นต้นไป โดยศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีเขตศาลเพิ่มขึ้นอีก 8 จังหวัด คือ จังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และสุพรรณบุรี

          ในปี 2540 ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวนที่ตั้ง เขตศาล และวันเปิดทำการของศาลอุทธรณ์ภาค (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540 ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2540 เป็นต้นไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเขตศาลอุทธรณ์นี้ กำหนดให้มีศาลอุทธรณ์กลางและศาลอุทธรณ์ภาค อีกจำนวน 9 ภาค โดยศาลอุทธรณ์ภาค 3 ปัจจุบันมีเขตศาลใน 8 จังหวัด ดังนี้ คือ

1. จังหวัดนครราชสีมา    5. จังหวัดศรีสะเกษ
2. จังหวัดชัยภูมิ    6. จังหวัดอุบลราชธานี
3. จังหวัดบุรีรัมย์    7. จังหวัดยโสธร
4. จังหวัดสุรินทร์    8. จังหวัดอำนาจเจริญ

       ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงมีเขตอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์มาจากศาลชั้นต้นครอบคลุมพื้นที่ภาค 3 รวม 28 ศาล ประกอบด้วย

1. ศาลจังหวัดนครราชสีมา 15. ศาลจังหวัดกันทรลักษ์
2. ศาลจังหวัดชัยภูมิ     16. ศาลจังหวัดเดชอุดม
3. ศาลจังหวัดบุรีรัมย์  17. ศาลแขวงนครราชสีมา
4. ศาลจังหวัดสุรินทร์ 18. ศาลแขวงนครราชสีมา (พิมาย)
5. ศาลจังหวัดศรีสะเกษ 19. ศาลแขวงสุรินทร์
6. ศาลจังหวัดอุบลราชธานี  20. ศาลแขวงอุบลราชธานี
7. ศาลจังหวัดยโสธร        21. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา
8. ศาลจังหวัดอำนาจเจริญ   22. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุบลราชธานี
9. ศาลจังหวัดภูเขียว 23. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชัยภูมิ
10.ศาลจังหวัดบัวใหญ่ 24. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดบุรีรัมย์
11.ศาลจังหวัดสีคิ้ว 25. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุรินทร์
12.ศาลจังหวัดสีคิ้ว (ปากช่อง) 26. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษ
13.ศาลจังหวัดนางรอง 27. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอำนาจเจริญ
14.ศาลจังหวัดรัตนบุรี 28. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดยโสธร

          ต่อมาได้มีกฎหมายแยกศาลออกจากกระทรวงยุติธรรมและมีการปรับโครงสร้างศาลยุติธรรม 3 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 และพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 117 ตอนที่ 44 ก ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2543 และมีผลใช้บังคับวันที่ 19 พฤษภาคม 2543 ซึ่งเป็นวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวทำให้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อตำแหน่ง ผู้บริหารงานศาลอุทธรณ์ จากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค...   รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค... เป็นประธานศาลอุทธรณ์หรือประธานศาลอุทธรณ์ภาค... รองประธานศาลอุทธรณ์ หรือรองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 3

          ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดจำนวน ที่ตั้งเขตศาล และวันเปิดทำการของศาลอุทธรณ์ภาค (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2556 กำหนดให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ย้ายที่ทำการจากกรุงเทพมหานคร มาตั้งอยู่ ณ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2556 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการกระจายที่ตั้งของศาลอุทธรณ์ภาคไปยังส่วนภูมิภาค อันเป็นการอำนวยความสะดวกและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนในส่วนภูมิภาคได้อย่างทั่วถึง

ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงมีเขตอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์มาจากศาลชั้นต้นครอบคลุมพื้นที่ภาค 3 รวม 28 ศาล ประกอบด้วย

1. ศาลจังหวัดนครราชสีมา 15. ศาลจังหวัดกันทรลักษ์
2. ศาลจังหวัดชัยภูมิ     16. ศาลจังหวัดเดชอุดม
3. ศาลจังหวัดบุรีรัมย์  17. ศาลแขวงนครราชสีมา
4. ศาลจังหวัดสุรินทร์ 18. ศาลแขวงนครราชสีมา (พิมาย)
5. ศาลจังหวัดศรีสะเกษ 19. ศาลแขวงสุรินทร์
6. ศาลจังหวัดอุบลราชธานี  20. ศาลแขวงอุบลราชธานี
7. ศาลจังหวัดยโสธร        21. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา
8. ศาลจังหวัดอำนาจเจริญ   22. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุบลราชธานี
9. ศาลจังหวัดภูเขียว 23. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชัยภูมิ
10.ศาลจังหวัดบัวใหญ่ 24. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดบุรีรัมย์
11.ศาลจังหวัดสีคิ้ว 25. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุรินทร์
12.ศาลจังหวัดสีคิ้ว (ปากช่อง) 26. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษ
13.ศาลจังหวัดนางรอง 27. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอำนาจเจริญ
14.ศาลจังหวัดรัตนบุรี 28. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดยโสธร

          ต่อมาได้มีกฎหมายแยกศาลออกจากกระทรวงยุติธรรมและมีการปรับโครงสร้างศาลยุติธรรม 3 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 และพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 117 ตอนที่ 44 ก ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2543 และมีผลใช้บังคับวันที่ 19 พฤษภาคม 2543 ซึ่งเป็นวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวทำให้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อตำแหน่ง ผู้บริหารงานศาลอุทธรณ์ จากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค...   รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค... เป็นประธานศาลอุทธรณ์หรือประธานศาลอุทธรณ์ภาค... รองประธานศาลอุทธรณ์ หรือรองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 3

          ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดจำนวน ที่ตั้งเขตศาล และวันเปิดทำการของศาลอุทธรณ์ภาค (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2556 กำหนดให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ย้ายที่ทำการจากกรุงเทพมหานคร มาตั้งอยู่ ณ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2556 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการกระจายที่ตั้งของศาลอุทธรณ์ภาคไปยังส่วนภูมิภาค อันเป็นการอำนวยความสะดวกและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนในส่วนภูมิภาคได้อย่างทั่วถึง

               อำนาจศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 22 บัญญัติให้ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาคมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นตามกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ และว่าด้วยเขตอำนาจศาล และมีอำนาจดังต่อไปนี้

1. พิพากษายืนตาม แก้ไข กลับ หรือยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ในเมื่อคดีนั้นได้ส่งขึ้นมายังศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

2. วินิจฉัยชี้ขาดคำร้อง คำขอที่ยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามกฎหมาย

3. วินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคมีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่น

               นอกจากนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังมีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง และการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมาย